เมนูอาหารญี่ปุ่น ได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 5 อาหารที่ได้รับความนิยมในระดับโลก นอกจากรสชาติของอาหารและวัตถุดิบที่โดดเด่นแล้ว อาหารญี่ปุ่นยังได้หลอมรวมความงดงามของวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตในทุก ๆ ด้านของประเทศญี่ปุ่น เข้าไปอยู่ในอาหารทุกจานด้วย ซึ่งแต่ละจานเต็มไปด้วยความสร้างสรรค์และความประณีตในการจัดวาง เมื่อรวมเข้ากันกับรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ จึงทำให้อาหารญี่ปุ่นสามารถครองใจคนทั้งโลกได้ไม่ยาก วันนี้เราจะชวนทุกคนไปทำความรู้จักกับ 8 เมนูอาหารญี่ปุ่นยอดนิยม ซึ่งแต่ละเมนูที่เราได้คัดสรรมาเป็นเมนูที่มีเรื่องราวน่าสนใจ ตลอดจนวัฒนธรรมการกินอาหารสไตล์คนญี่ปุ่น พร้อมประวัติความเป็นมา
เมนูอาหารญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันนั้น มีต้นกำเนิดจากอาหารพื้นเมืองในช่วงก่อนสิ้นสุดการปิดประเทศญี่ปุ่น ประมาณปี พ.ศ.2411 ซึ่งเรียกว่าช่วงยุคกลางหรือตั้งแต่สมัยเอโดะ ในสมัยนั้นคนญี่ปุ่นนิยมกินอาหารประเภท ทอด ชาและอาหารจำพวกถั่วหมัก เป็นต้น หลังจากนั้นก็มีพัฒนาการทางอาหารเรื่อยมา จนกระทั่งเข้าสู่ยุคใหม่ คือช่วงหลังจากการเปิดประเทศ ทำให้อาหารญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลเรื่องส่วนผสม วิธีการปรุงจากประเทศตะวันตกบางส่วน และได้นำมาประยุกต์ให้เข้ากับวิธีการกินอาหารของคนญี่ปุ่น จึงส่งผลให้วิถีชีวิตด้านการกินอาหารของคนญี่ปุ่น เปลี่ยนแปลงมาจนถึงปัจจุบัน และจุดเด่นที่เห็นได้ชัดของเมนูอาหารญี่ปุ่นคือ วัตถุดิบที่คัดสรรตามฤดูกาล ที่มีทั้งความสดใหม่และมีคุณภาพดี จึงทำให้แต่ละเมนูนั้นล้วนมีประวัติเรื่องราวมาอย่างยาวนาน
ประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะที่รายล้อมด้วยทะเล ทั้งยังเป็นบริเวณที่มีกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นไหลมาบรรจบกัน ทำให้ญี่ปุ่นมีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์มาก โดยเฉพาะอาหารทะเล หรือปลาชนิดต่าง ๆ ที่ได้กลายมาเป็นอาหารหลักของชาวญี่ปุ่น แต่เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยและรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นแห้งแล้ง ฝนตกหนัก หรือหนาวเย็นเฉียบพลัน ทำให้มีการคิดค้นการถนอมวัตถุดิบต่าง ๆ โดยนิยมใช้น้ำส้มสายชูในการหมัก ซึ่งน้ำส้มสายชูที่ชาวญี่ปุ่นใช้นั้นทำมาจากการนำข้าวกล้องหรือส่วนผสมของข้าวโพด และแป้งสาลี มาหมักกับโคจิรา จึงทำให้น้ำส้มสายชูที่ได้มีส่วนผสมของกรดอะซิติกและกรดซิติก ที่ช่วยในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการเน่าเสียได้ง่าย และการคิดค้นการถนอมวัตถุดิบของชาวญี่ปุ่นนี้เอง ก็ได้เป็นต้นกำเนิดของเมนูอาหารญี่ปุ่นหลากหลายเมนู
การเปิดประเทศของญี่ปุ่นในปี พ.ศ.2396 นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะหลังจากได้ทำการค้า ก็มีการปรับเปลี่ยนในด้านต่าง ๆ จากวัฒนธรรมกินปลาเพียงอย่างเดียวและไม่นิยมกินเนื้อสัตว์อื่น ก็เปลี่ยนมากินตามอิทธิพลตะวันตก อาหารญี่ปุ่นบางอย่างก็ได้รับเอาวัฒนธรรมจากชาติอื่นมาผสมผสานด้วยเช่นกัน คนญี่ปุ่นเองก็ยอมรับว่าเมนูอาหารญี่ปุ่นบางอย่าง ก็ได้รับอิทธิพลมาจากที่อื่น ๆ คนญี่ปุ่นจึงได้ทำการจัดแยกประเภทอาหารขึ้นมาและทำการตั้งชื่อให้โดยเฉพาะ เช่น หากเป็นอาหารญี่ปุ่นที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก จะเรียกกันว่า โยโชกุ โดยได้นำมาปรับปรุงรสชาติให้เข้ากับรสนิยมการบริโภคของชาวญี่ปุ่นมากขึ้น เป็นต้น
เมนูอาหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ มีองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ คือ ข้าว สาหร่าย ซุป โปรตีน แตงกวาดอง สลัด เครื่องดื่มและขนม ส่วนข้าวที่มีอยู่ในอาหารญี่ปุ่น ได้แก่ ข้าวขาวนึ่ง (Hakumai) ข้าวกล้อง (Genmai) หรือข้าวสวยผสมข้าวบาร์เลย์ (Mugi) นอกจากนี้ ยังมีข้าวจานที่มีการหุงด้วยผัก และอาหารทะเล หรือโปรตีน ที่เรียกว่า "Takikomi Gohan" นอกจากนั้น ยังมีเครื่องปรุงหลัก ๆ ที่ใช้ในการปรุงอาหาร ได้แก่ โชยุ เรียวริชู หรือสาเกปรุงอาหาร มิริน ดาชิ และมิโซะ ซึ่งเครื่องปรุงต่าง ๆ นั้นก็เกิดขึ้นจากวัฒนธรรมการกินอาหารที่พิถีพิถันของชาวญี่ปุ่นด้วยเช่นเดียวกัน
นอกจากวัตถุดิบและเครื่องปรุงต่าง ๆ แล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ และเป็นองค์ประกอบหลักในเมนูอาหารญี่ปุ่นก็คือ วัฒนธรรมการกินอาหารในสไตล์ญี่ปุ่น เช่น การกินอาหารโดยใช้ปลายของตะเกียบคีบอาหารเข้าปาก ส่วนน้ำซุปจะไม่นิยมใช้ช้อนตัก แต่จะใช้การยกซดแทน นอกจากนั้นคนญี่ปุ่นจะไม่กินอาหารชนิดเดียวต่อ ๆ กัน เช่น เมื่อกินข้าวแล้วจะซดน้ำซุป จะไม่นิยมกินข้าวแล้วตามด้วยการกินข้าวอีกครั้ง และจะดื่มชาหลังอาหารเท่านั้น
ในเมนูอาหารญี่ปุ่นประเภทปลานั้น หากมีปลาหลายหลายชนิด คนญี่ปุ่นจะกินปลาที่มีเนื้อสีขาวก่อน หลังจากนั้นค่อยกินปลาเนื้อสีเงิน และตามด้วยปลาเนื้อสีแดงที่มีรสเข้มข้น เช่น แซลมอน โดยจะกินปลาที่มีไขมันสูงเป็นลำดับสุดท้าย และการกินปลาของคนญี่ปุ่นนั้น จะนำปลามาประกอบอาหารได้ทุกส่วน ตั้งแต่ส่วนหัว ลำตัว จนถึงส่วนหาง เพราะคนญี่ปุ่นเชื่อว่าเนื้อแต่ละส่วนของปลา จะให้รสสัมผัสและรสชาติแตกต่างกันออกไป
แม้ว่าคนญี่ปุ่นจะหันมากินเนื้อสัตว์อื่น ๆ บ้าง หลังจากที่นิยมกินปลากันเพียงอย่างเดียวมาอย่างยาวนาน แต่ว่าวัฒนธรรมการเนื้อสัตว์ของคนญี่ปุ่น ก็ค่อนข้างจะละเมียดละไมตามแบบวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่น ซึ่งจะเน้นวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และนิยมแยกวัตถุดิบออกเป็นส่วนต่าง ๆ โดยที่การกินเนื้อจะต้องมีสไตล์การตัดแต่งเนื้อโดยเฉพาะ เช่น ส่วนไหนตัดแบบไหน เพราะว่าแต่ละส่วนให้รสชาติและรสสัมผัสต่างกัน
โดยปกติแล้ววัฒนธรรมการกินข้าวในแบบของคนญี่ปุ่น คือ จะใช้มือถือชามข้าวไว้ข้างหนึ่ง เวลากินก็จะยกชามข้าวขึ้นมาใกล้ ๆ ปาก แล้วค่อย ๆ ใช้ตะเกียบคีบข้าวและอาหารเข้าปาก ซึ่งอาจจะคีบข้าวก่อนแล้วตามด้วยอาหาร หรือคีบอาหารก่อนแล้วตามด้วยข้าวก็ได้ แต่จะไม่นิยมเทโชยุราดบนข้าวอย่างเด็ดขาด
การกินเมนูอาหารญี่ปุ่นประเภทเส้น ไม่ว่าจะเป็นราเมง อุด้ง หรือโซบะ ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักจะดูดเส้นเข้าปากและกินเสียงดังตามธรรมชาติ แต่ ในทางกลับกันคนญี่ปุ่นจะถือว่าการกินเส้นต่าง ๆ หากกัดเส้นให้ขาดจะถือว่าผิดมารยาท และเวลากินเส้นจะไม่คีบเส้นวางบนช้อน แบบที่คนไทยเราชอบทำกัน เพราะว่าสำหรับชาวญี่ปุ่นนั้น การคีบเส้นแล้วดูดให้เกิดเสียง คือการแสดงความรู้สึกถึงความอร่อย
เป็น เมนูอาหารญี่ปุ่น ประเภทเส้นที่หลายคนหลงรัก เส้นอูด้งมีลักษณะอวบอ้วน สีขาวหนานุ่ม เป็นเส้นที่ได้รับความนิยมไม่แพ้เส้นราเมง หรือเส้นโซบะเลย โดยที่เส้นอูด้งทำมาจากข้าวสาลี สามารถนำมาประกอบอาหารกินได้ทั้งแบบร้อนและแบบเย็น ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศของแต่ละฤดูกาล ซึ่งอูด้งในรูปแบบดั้งเดิมของคนญี่ปุ่นเรียกกันว่า คาเกะอูด้ง (Kake Udon) ที่น้ำซุปมีส่วนผสมของ 3 วัตถุดิบหลักของญี่ปุ่น ได้แก่ ดาชิ มิริน และซอสถั่วเหลือง โดยมีต้นหอมซอย หรือสาหร่าย เป็นท็อปปิ้งยอดนิยม และรสชาติของน้ำซุปอูด้งนั้น มีรสแตกต่างกันไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละภูมิภาค เช่น ภาคตะวันออกของญี่ปุ่นน้ำซุปจะมีสีเข้ม ในขณะที่ภาคตะวันตกน้ำซุปมักจะมีสีอ่อนกว่า
เดิมทีเส้นอูด้งมีต้นกำเนิดมาจากเส้นชูเมี่ยน ของประเทศจีน ที่ทำมาจากแป้งสาลี เป็นเส้นยาว ๆ และหนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร นิยมกินกับซุปเต้าเจี้ยว ที่เป็นอาหารทางภาคเหนือของจีน โดยที่เส้นอูด้งได้เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยพระสงฆ์ชาวญี่ปุ่นที่เดินทางไปจาริกยังประเทศจีน เพื่อศึกษาพุทธศาสนา และหลังจากนั้นชาวญี่ปุ่นก็ได้ยกย่องให้พระคูไกและพระเอ็นนิเป็นต้นตำรับในการปรุงเส้นอูด้งของญี่ปุ่น
อูด้งมีจุดเด่นคือเส้นที่หนานุ่ม และมีให้เลือกมากมายหลากหลายชนิดด้วยกัน และเส้นอูด้งทำมาจากแป้งสาลีที่นวดด้วยน้ำเกลือ ที่ว่ากันว่าเป็นเส้นที่เป็นรสชาติแท้ ๆ ของคนญี่ปุ่น และเมื่อกินพร้อมกับน้ำซุป ก็จะมีความหอมกลมกล่อม และอร่อยอย่างมากเลยทีเดียว
วิธีกินอูด้งแบบฉบับญี่ปุ่นคือการกินโดยใช้ตะเกียบคีบเส้นอูด้งขึ้นมาแล้วนำเข้าปากได้เลย โดยมักจะนิยมปรุงเครื่องปรุงลงไปด้วย เช่น งาขาว งาดำ ต้นหอม และพริกป่นลงไปทีละเล็กน้อย เพื่อหารสชาติที่ลงตัว แต่ถ้าหากกินคู่กับเทมปุระ ก็นิยมนำเทมปุระชุบน้ำซุปอูด้งแทนน้ำจิ้ม
เป็นเมนูอาหารญี่ปุ่นประเภทบะหมี่เส้นผัด โดยที่เส้นยากิโซบะนั้นทำมาจากแป้งสาลีผสมไข่ไก่ มีลักษณะคล้าย ๆ กับบะหมี่จีนที่ชื่อว่า ชูกาเม็ง (Shugameng) โดยจะเป็นการผัดเส้นกับเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ด้วยซอสวูสเตอร์ (Worcestershire sauce) เกลือ และพริกไทย สามารถเพิ่มความอร่อยด้วยการโรยหน้าด้วยผงสาหร่าย ขิงดอง และคัตสึโอบูชิ หรือปลาแห้ง
ยากิโซบะมีที่มาจาก เฉ่าเมี่ยน หรือบะหมี่ผัดของจีน โดยมีเริ่มกินยากิโซบะในยุคเอโดะ หรือประมาณศตววรรษที่ 18-19 แต่ว่าในสมัยนั้นยากิโซบะเป็นที่นิยมในหมู่ขุนนางเท่านั้น และหลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19-20 หรือยุคเมจิ ยากิโซบะก็เริ่มแพร่หลายในกลุ่มประชาชน เพราะประเทศญี่ปุ่นได้ทำการเปิดท่าเรือ และชาวจีนก็เข้ามาค้าขายสินค้าต่าง ๆ รวมถึงบะหมี่จีนด้วย จึงทำให้ร้านอาหารต่าง ๆ สามารถหาซื้อบะหมี่จีนได้ง่าย และชาวญี่ปุ่นก็ได้ดัดแปลงจนเป็นยากิโซบะในทุกวันนี้
อยู่ที่การผัดเส้นแล้วปรุงด้วยซอส โดยเส้นที่ผัดบนเตาจะสุกแบบกำลังดี หรือมีความเกรียมเล็กน้อย แล้วใส่ส่วนผสมต่าง ๆ ลงไป เช่น ถั่วงอก ต้นหอม กะหล่ำ ฯลฯ ซึ่งกลิ่นหอมของยากิโซบะจะหอมยั่วยวนใจ ชวนให้หิวเป็นอย่างมาก
การกินยากิโซบะนั้น ไม่มีพิธีรีตองมากเหมือนการกินอาหารชนิดอื่น เพียงแค่ใช้ตะเกียบคีบเส้นขึ้นมา และนำเข้าปากเท่านั้น แต่ว่ามีทริคเล็กน้อยในการกินยากิโซบะให้อร่อย นั่นก็คือ รีบกินทันทีหลังจากอาหารมาเสิร์ฟ เพราะถ้าทิ้งไว้จนอาหารเย็น จะทำให้รสชาติอันแสนอร่อยของยากิโซบะนั้นลดลงนั่นเอง .
เป็นบะหมี่น้ำของญี่ปุ่น โดยสมัยก่อนจะมีวัตถุดิบ คือเนื้อหมู สาหร่าย ต้นหอม แต่หลังจากนั้นก็มีการคิดค้นสูตร และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เพิ่มเข้ามา และราเมนในแต่ละพื้นที่จะมีรสชาติและส่วนผสมที่แตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่จะนิยมปรุงรสด้วยโชยุ (Shoyu) หรือซีอิ๊วญี่ปุ่น เป็นส่วนหลักของนํ้าซุปซึ่งช่วยเพิ่มความอร่อยหอมหวาน จนกลายเป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลก
มีการค้นพบบันทึกโบราณว่า มีการกินราเมนในศตวรรษที่ 17 หรือตั้งแต่ยุคเอโดะ และหลังจากนั้นประมาณ 100 ปี ได้มีร้านราเมนร้านแรกของญี่ปุ่นเปิดตัวขึ้นที่ย่านอาซากุสะ กรุงโตเกียว และราเมนก็ได้กลายเป็นอาหารยอดนิยม ในช่วงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเกิดปัญหาขาดแคลนข้าว จึงหันมากินเส้นราเมนที่ทำจากแป้งสาลีแทน
น้ำซุปเป็นหัวใจสำคัญของราเมน ไม่ว่าจะเป็นซุปกระดูกไก่หรือกระดูกหมู รวมถึงสาหร่ายคอมบุด้วย นอกจากนั้นยังมีผงปลาตากแห้ง กุ้งและปลาอบเกลือ ถึงแม้ว่าส่วนผสมของน้ำซุปจะแตกต่างกัน แต่จะมีการปรุงรสด้วยส่วนผสมหลักเหมือนกัน ได้แก่ เกลือ น้ำมันงา ซีอิ๊วญี่ปุ่นและเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น
สมัยก่อนคนญี่ปุ่นจะนิยมกินราเมนนอกบ้าน เพราะการออกมากินราเมนตามร้านข้างทาง ถึงจะเรียกว่าเป็นการกินราเมนขนานแท้ และการกินราเมนแบบดั้งเดิมคือการคีบเส้นเข้าปาก แล้วดูดเส้นจนหมด ห้ามกัดเส้นให้ขาดและกินเสียงดังเพื่อเป็นการแสดงถึงความอร่อยตามสไตล์การกินของคนญี่ปุ่นนั่นเอง
นับว่าเป็นอีก 1 เมนูอาหารญี่ปุ่นยอดนิยมที่ถูกปากถูกใจคนไทย เมนูนี้เกิดจากการต้มเนื้อวัว และจัดเสิร์ฟในหม้อไฟที่เรียกกันว่า กิวนาเบะ มาก่อน ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการเสิร์ฟ โดยเอาเนื้อวัวสไลด์บาง ๆ มาโปะหน้าลงบนข้าวแทน และการจะทำกิวด้งที่อร่อย จะต้องใช้ข้าวที่ดี มีความเหนียวนุ่ม และใช้เนื้อวัวที่มีคุณภาพในการปรุงอาหารเท่านั้น
ในศตวรรษที่ 7 การบริโภคเนื้อวัวในญี่ปุ่นยังไม่ได้รับความนิยมและยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก จนกระทั่งได้มีการยกเลิกข้อห้าม ที่ทำให้คนเริ่มหันกลับมากินเนื้อมากขึ้น โดยที่การปรุงข้าวหน้าเนื้อ เริ่มมาจากเอาเนื้อไปนึ่งกับมิโซะ (เต้าเจี้ยว) หรือไปปรุงกับซอสโชยุ ผสมน้ำตาล หรือมิริน แล้วเอาเนื้อไปเคี่ยวในน้ำปรุง ก่อนจะนำมาราดข้าว
เมนูนี้มีจุดเด่นอยู่ที่ข้าวญี่ปุ่นที่มีความเหนียวนุ่มกำลังดี และเมื่อรวมกับเนื้อวัวชั้นดี ที่ปรุงรสมาอย่างพิถีพิถัน พร้อมกับสไลด์เนื้อมาแบบบาง ๆ ยิ่งทำให้รสสัมผัสของเนื้อ สามารถละลายในปากเราได้เลย
เมนูนี้เป็นเมนูที่กินง่าย เพียงแค่ใช้ตะเกียบคีบข้าวสวยร้อน ๆ สลับกับชิ้นเนื้อ หรือกินสลับกับเครื่องเคียงต่าง ๆ
เมนูอาหารญี่ปุ่นอีกหนึ่งเมนูที่ขาดไม่ได้เลย คือ ซุปมิโซะ หรือเรียกอีกชื่อว่า ซุปเต้าเจี้ยวมีเครื่องปรุงหลัก คือ สาหร่าย เต้าหู้ และต้นหอม นอกจากนั้น อาจจะใส่เนื้อสัตว์หรือผักอื่นๆ ลงไปในซุปด้วยก็ได้
ในยุคสมัยมูโรมาจิ คนญี่ปุ่นนิยมทำซุปมิโซะกันอย่างแพร่หลาย แม้ในช่วงสงครามกลางเมือง โดยที่มิโซะได้มาจากการเอาถั่วเหลืองไปนึ่งแล้วบดละเอียด จากนั้นนำข้าวและเกลือมาผสม และหมักทิ้งไว้ประมาณครึ่งปี นอกจากนั้นในสมัยโบราณยังนิยมทำมิโซะตากแห้งอีกด้วย
ส่วนประกอบหลักของซุปมิโซะมีอยู่ 2 อย่าง คือ น้ำซุปและมิโซะ ซึ่งน้ำซุปทั่วไปจะใช้น้ำซุปดาชิ ผสมกับมิโซะ และในทุกวันนี้มิโซะก็กลายเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ ในทุกเมนูอาหารญี่ปุ่นเลยทีเดียว
การกินซุปมิโซะนั้น สามารถกินได้โดยการยกซดจากถ้วยซุปโดยตรง และในเวลากินซุปให้มีเสียงซดน้ำเพียงเล็กน้อย เพื่อเป็นการบอกว่าซุปมิโซะถ้วยนั้น มีรสชาติอร่อยและกลมกล่อม
เมนูอาหารญี่ปุ่นยอดนิยม ที่ขาดไปไม่ได้เลยเมื่อกล่าวถึงอาหารญี่ปุ่น โดยซูชิที่พบได้บ่อยมากที่สุดคือ นิกิริซูชิ (Nigiri Sushi) ที่มีลักษณะข้าวปั้นเป็นก้อนรูปทรงวงรี แล้ววางเนื้อปลาดิบ หรือเนื้อต่าง ๆ ไว้ด้านบน และมากิซูชิ (Maki Sushi) ที่เป็นแบบม้วนข้าวไว้ในสาหร่าย
ซูชิเป็นเมนูหนึ่งที่เกิดจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่นในอดีต โดยเริ่มจากการนำเนื้อปลามาหมักกับข้าว คล้ายคลึงกันกับการทำปลาร้าและปลาส้มของทางฝั่งบ้านเรา ซึ่งในกระบวนการนี้ จะทำให้ข้าวเกิดเป็นกรดแลกติก ที่ช่วยป้องกันการเน่าเปื่อยของเนื้อปลาได้ และต่อมาได้มีวิวัฒนาการจนกลายมาเป็นซูชิแสนอร่อยที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน
ซูชิเป็นอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากจะมีหน้าตาและสีสันสวยงามแล้ว ยังมีความหลากหลายของเนื้อสัตว์ที่วางลงบนข้าวปั้นอีกด้วย โดยมีส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ปลาดิบและผัก
หากเป็นการกินแบบคนญี่ปุ่น จะใช้มือหยิบเข้าปากเลย และไม่นิยมนำซูชิด้านที่เป็นข้าวลงไปจุ่มในโชยุ เพราะข้าวจะหลุดแตกออกมา แต่จะใช้ด้านบนส่วนที่เป็นเนื้อปลา จุ่มลงไปแทน และในการกินซูชิชิ้นนั้นจะต้องกินให้หมดภายในคำเดียว เพื่อให้ได้รสชาติของซูชิครบถ้วน
เมนูอาหารญี่ปุ่นยอดนิยมอย่างมากอีก 1 เมนู นั่นก็คือข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเมนูที่เน้นเครื่องเทศและความเผ็ดร้อนพอประมาณ แต่บอกได้เลยว่ารสชาติออกมากลมกล่อมมากทีเดียว
แรกเริ่มนั้นแกงกะหรี่ญี่ปุ่นมาจากแกงกะหรี่อินเดีย แล้วมีชาวอังกฤษนำไปดัดแปลง ก่อนจะแพร่หลายเข้ามาในญี่ปุ่น และคนญี่ปุ่นจึงนำไปปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมการกินของญี่ปุ่นอีกครั้ง ด้วยการผสมแป้งสาลีเข้าไป เพื่อทำให้น้ำแกงมีความข้นเหนียวมากขึ้น
เมนูญี่ปุ่นเมนูนี้มีจุดเด่นคือความเหนียวข้นของน้ำแกง ที่ผสมทั้งแป้งและเครื่องเทศตามสูตรของชาวญี่ปุ่น และได้ใส่เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้บางชนิดลงไปเพิ่มความอร่อย เมื่อราดแกงกะหรี่ลงบนข้าวญี่ปุ่นที่มีความเหนียวนุ่ม จึงผสมกันเป็นความอร่อยอย่างลงตัว
การกินข้าวแกงกะหรี่ญี่ปุ่น ตามฉบับคนญี่ปุ่นแท้ ๆ มีหลักการเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ ห้ามคลุกข้าวกับแกงผสมกันเด็ดขาด แต่จะทำการตักกินเป็นคำ ๆ เพราะว่าการคลุกข้าวผสมกับแกงนั้น คนญี่ปุ่นจะถือว่าเป็นการเสียมารยาท เพราะเหมือนเป็นการคลุกข้าวให้น้องหมาน้องแมวเสียมากกว่า
เป็นเมนูอาหารญี่ปุ่นประเภทปิ้งย่าง ที่เราคงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะคออาหารญี่ปุ่นประเภทเนื้อย่าง และยังเป็นอาหารยอดนิยมที่ครองใจคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยที่การกินยากินิคุจะมีทั้งเนื้อและผักย่างบนตะแกรง หรือกระทะเหล็กร้อน จากนั้นก็นำไปจิ้มกับซอสรสต่าง ๆ เพื่อให้ได้ความอร่อยตามสไตล์ญี่ปุ่น
ยากินิคุเป็นภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่าการย่างเนื้อ โดยที่ต้นกำเนิดการปิ้งย่างยากินิคุสไตล์ญี่ปุ่นนั้น ว่ากันว่าชาวญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลการปรุงอาหารแบบปิ้งย่าง มาจากผู้อพยพชาวเกาหลี และได้ปรับเปลี่ยนวิธีปิ้งย่างให้เข้ากับวัฒนธรรมของตัวเอง
การปิ้งย่างแบบยากินิคุแตกต่างจากแบบเกาหลี เพราะจะใช้เตาถ่านปิ้งย่างกับตะแกรง เพื่อให้ความร้อนจากถ่านสัมผัสกับเนื้อสไลด์ชิ้นบาง ๆ ได้โดยตรง จึงทำให้ได้ความหอมอร่อยและนุ่มลิ้นกำลังดี
จะย่างเนื้อและพลิกเพียงครั้งเดียว เพื่อไม่ให้เนื้อแข็งกระด้างและเพื่อให้ได้สัมผัสถึงความสดและคุณภาพของเนื้อ และการย่างเนื้อติดมัน ชาวญี่ปุ่นจะย่างเฉพาะบริเวณขอบเตาเท่านั้น เพื่อไม่ให้น้ำมันหยดลงใส่ถ่านซึ่งอาจทำให้เกิดเปลวไฟได้
เป็นอย่างไรกันบ้างกับเมนูอาหารญี่ปุ่นขึ้นชื่อ รวมถึงที่มาของความอร่อยและวัฒนธรรมการกินในแบบฉบับคนญี่ปุ่นที่เรานำมาฝากวันนี้ ถ้าใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วอยากจะลิ้มลองอาหารญี่ปุ่น เราขอแนะนำให้แวะไปที่ศูนย์การค้าเดอะ สตรีท รัชดา ศูนย์รวมร้านอาหารนานาชาติใจกลางย่านรัชดา Food Destination ที่มีเอกลักษณ์ และมีความหลากหลายให้คุณได้เลือกสรร เหมือนยกร้านอาหารมาจากประเทศญี่ปุ่นและทั่วทุกมุมโลกมาไว้ที่ไทย ไม่ว่าจะเป็นร้าน Shakariki 432, ร้าน Kizakaya, ร้าน A ramen ชั้น B, ร้าน Oishi ramen, ร้าน Kakashi ชั้น 1, ร้าน Sushi OO, ร้าน Kabocha Sushi, ร้าน Yayoi, ร้าน Shabushi, ร้าน Neta Fish & Meat หรือร้าน Gyuya Yakiniku ชั้น 4 ก็มีเมนูอาหารญี่ปุ่นหลากหลายครบครัน ที่พร้อมบริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง