ในปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไป จากความนิยมในการดื่มกาแฟตามคาเฟ่ต่างๆ กลายเป็นการชงกาแฟกินเองที่บ้าน โดยกาแฟที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ “กาแฟดริป” เพราะสามารถคงความอร่อยและรสชาติธรรมชาติของกาแฟไว้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การทำกาแฟดริปดื่มเองที่บ้านนั้นก็มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน ดังนั้น วันนี้เรามาเปลี่ยนบ้านให้เป็น Home Cafe ได้ง่าย ๆ กับสูตรชงกาแฟดริปที่จะเปลี่ยนคุณให้กลายเป็นบาริสต้าได้ในทันที
การชงกาแฟแบบดริป หรือเรียกอีกอย่างว่า Filter Coffee ที่สามารถทำในเครื่องที่มีตัวกรองแบบถาวรหรือแบบถอดได้ในตัว เริ่มต้นจากการรินน้ำร้อนผ่านกาแฟบดซึ่งบรรจุอยู่ในตัวกรองที่เป็นกระดาษ โลหะ หรือผ้าด้วยตนเอง โดยวิธีในการชงคือเทน้ำลงในภาชนะ หลังจากนั้นน้ำจะค่อย ๆ ไหลผ่านกาแฟที่อยู่ในตัวกรอง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการชงแบบ Slow Bar ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน
กาแฟดริป คือหนึ่งในการทำกาแฟแบบที่เรียกกันว่า Slow Bar มีความคล้ายกับการชงด้วยเครื่องเอสเปรสโซ (Espresso Machine) แต่จะได้รสชาติกาแฟที่อ่อนกว่า เนื่องจากน้ำที่ไหลผ่านกาแฟไม่มีแรงดัน จึงทำให้มีกลิ่นหอมและเนื้อสัมผัสแตกต่างกัน และต้องใช้เวลากับความพิถีพิถันมากกว่า กล่าวคือ ต้องใช้เวลานานถึง 10-20 นาทีกว่าจะได้กาแฟออกมาแต่ละแก้ว ในขณะที่กาแฟที่ชงด้วยเครื่องเอสเปรสโซนั้นเป็นวิธีการชงแบบ Speed Bar ที่ใช้การสกัดช็อตกาแฟออกมาได้อย่างรวดเร็วกว่าซึ่งใช้เวลาเพียง 25-30 วินาทีเท่านั้น นอกจากนี้แล้วกาแฟเอสเปรสโซจะใช้กาแฟที่มีการคั่วมากแต่บดละเอียด ในขณะที่กาแฟกรองจะมีการคั่วน้อยกว่าและบดหยาบกว่า
โปรไฟล์ในการคั่วกาแฟ หรือระดับการคั่วเมล็ดกาแฟ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ คั่วเข้ม คั่วกลาง และคั่วอ่อน ซึ่งโปรไฟล์ในการคั่วกาแฟนั้นสามารถปรับแต่งได้ตามอุณหภูมิการคั่วที่แตกต่างกัน เพื่อดึงรสชาติและกลิ่นของกาแฟออกมาให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละโปรไฟล์ อย่างเช่น การคั่วเข้มจะเน้นความเข้มของกาแฟ หรือการคั่วอ่อนจะได้ความเข้มน้อยและจะรู้สึกถึงรสเปรี้ยว เป็นต้น
ในการทำกาแฟดริปนั้น เรื่องของปริมาณกาแฟที่ใช้กับปริมาณน้ำ จึงเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดรสชาติของกาแฟ โดยมีอัตราส่วนที่เหมาะสมคือกาแฟ 1 กรัม ต่อน้ำ 15 ถึง 17 กรัม แต่ถ้าหากต้องการกาแฟที่รสชาติเข้มข้นก็สามารถปรับปริมาณของน้ำต่อกาแฟให้น้อยลงได้ หรือถ้าต้องการกาแฟรสชาติเจือจาง ก็สามารถใช้ปริมาณน้ำมากกว่าเดิมได้
การดริปกาแฟเป็นการชงกาแฟที่ต้องใช้เวลาและความพิถีพิถันเป็นอย่างมาก การเทน้ำถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการไหลของน้ำผ่านตัวกาแฟ และส่งผลต่อระยะเวลาที่ใช้ในการชง ดังนั้นเมื่อทำการชงกาแฟนานเกินไปจะทำให้ได้กาแฟรสขม ในทางกลับกัน การชงกาแฟด้วยเวลาที่น้อยเกินไปจะทำให้รสชาติกาแฟที่ได้มีความเข้มน้อย และติดเปรี้ยว
อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการทำกาแฟดริปคือ 90 ถึง 96 องศาเซลเซียส เพราะว่าน้ำสามารถเป็นตัวทำละลายได้ดีเมื่อมีอุณหภูมิสูง
สำหรับกาแฟดริปนั้น ยิ่งทำการบดละเอียดมากเท่าไร พื้นที่ผิวของเมล็ดกาแฟก็ยิ่งสามารถสัมผัสกับน้ำได้มากขึ้นเท่านั้น จึงทำให้ได้รสชาติที่เข้มข้นขึ้นตามไปด้วย รวมไปถึง วิธีการชงที่ใช้เวลาพักนานกว่า อย่างเช่นวิธี French Press จะเหมาะกับการบดที่หยาบกว่า นอกจากนี้ ถ้าใช้ขนาดการบดของกาแฟที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้กาแฟที่ได้มีรสขมหรือเจือจางเกินไป
การชงกาแฟด้วยการหยดน้ำร้อนหรือเทวนเป็นวงกลมลงบนผงกาแฟ ผ่านตัวกรองกระดาษหรือที่เรียกว่า Filter ทำให้ได้กาแฟที่มีความเป็นธรรมชาติสูง โดยวิธีการนี้ไม่ได้มีอุปกรณ์ทำกาแฟที่ตายตัว ถือได้ว่าเป็นการชงที่ไม่ซับซ้อนและสามารถทำได้ง่าย
เป็นวิธีการชงกาแฟ ที่ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ไซฟอน (Syphon) โดยการใช้หลักการของสุญญากาศ ในการสกัดกาแฟ และใช้เวลาประมาณ 3-5 นาที โดยวิธีการนี้จะใช้น้ำที่มีอุณหภูมิสูงมาก จึงทำให้รสชาติของกาแฟมีความซับซ้อนมากขึ้น
การชงด้วยเครื่อง แอโรเพรส (Aeropress) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกระบอกฉีดยา คือหนึ่งในวิธีการทำกาแฟแบบ Slow Bar นอกจากจะใช้งานง่ายแล้ว ยังเป็นวิธีการแช่แบบเต็มรูปแบบ ด้วยการใส่กาแฟและน้ำ คนให้เข้ากัน พักไว้ครู่หนึ่ง จากนั้นทำการกดน้ำกาแฟใส่ถ้วยโดยผ่านกระดาษกรอง
วิธีนี้จะคล้ายกับการชงแบบแอโรเพรส ที่ใช้หลักการแช่น้ำร้อนในกาแฟเพื่อสกัดกาแฟ โดยวิธีการนี้จะได้กาแฟที่มีรสชาติเข้มข้น เนื่องจากไม่มีกระดาษกรองกาแฟเพื่อดักจับน้ำมันที่เคลือบผิวเมล็ดกาแฟ ซึ่งถูกทำให้เป็นอิมัลชันจากกาแฟบดในขณะต้ม จึงได้ความหนาของกาแฟที่เข้มมากกว่าวิธีการชงแบบไซฟอน
หม้อต้มกาแฟ (Moka Pot) หรือที่รู้จักในชื่อเครื่องทำเอสเปรสโซแบบตั้งพื้น โดยวางอุปกรณ์บนเตาที่ให้ความร้อน หลังจากนั้นน้ำจะร้อนขึ้น และทำให้เกิดแรงดันเข้าไปสกัดกับเมล็ดกาแฟ ซึ่่งจะทำให้รสชาติของกาแฟมีความเข้มข้นสูง
การทำกาแฟสกัดเย็น ที่เกิดจากการแช่กาแฟบดปานกลางถึงหยาบในน้ำอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 12 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น หลังจากนั้นจึงทำการกรองกาแฟออก โดยขั้นตอนนี้กินเวลาเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 24 ชั่วโมง
เนื่องจากลักษณะการชงกาแฟแบบ Slow Bar จะแตกต่างกับการชงแบบ Speed Bar อย่างชัดเจน จึงทำให้กาแฟดริปมักจะมีรสชาติที่กลมกล่อมและเข้มข้นน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเอสเปรสโซหนึ่งช็อต ดังนั้นการเลือกใช้เมล็ดกาแฟจึงต้องเลือกเมล็ดที่มีความพิเศษและแตกต่าง โดยมีหลักการเลือกดังนี้
Flavors or Taste Notes หรือกลิ่นและรสชาติของกาแฟ เป็นคำอธิบายเกี่ยวกับกลิ่นหอม รสชาติ และลักษณะของกาแฟ เพื่อช่วยแนะนำรสชาติของกาแฟให้ตรงกับความชอบของผู้ดื่มได้ ซึ่งกลิ่นและรสชาติของกาแฟนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่ออกรสผลไม้ไปจนถึงรสช็อกโกแลต รสเอิร์ธโทน รสเผ็ด สมุนไพร หรือแม้แต่กลิ่นดอกไม้ ทำให้รสชาติและกลิ่นหอมของกาแฟนั้นมีความซับซ้อนและน่ามหัศจรรย์
การโพรเซสกาแฟ คือ กระบวนการที่เริ่มตั้งแต่การเก็บเกี่ยวผลกาแฟ นำไปล้างทำความสะอาด ไปจนถึงการนำไปหมักเพื่อให้ได้สารกาแฟ (Green Bean) ก่อนเข้าสู่กระบวนการคั่ว โดยเมล็ดกาแฟจะถูกหมักและทำให้แห้งโดยใช้วิธีการแปรรูปแบบใดแบบหนึ่งที่แตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลต่อรสชาติกาแฟ โดยโพรเซสเมล็ดกาแฟสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้
เป็นกรรมวิธีที่ใช้น้ำในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดที่มีคุณภาพซึ่งไม่เน่าเสียหรือโดนแมลงกินจากการที่เมล็ดจมลงน้ำ ไปจนถึงขั้นตอนการหมักเมือกกาแฟกับเมล็ด เพื่อให้อิ่มน้ำและเกิดจุลินทรีย์ที่ส่งผลต่อรสชาติ ก่อนนำไปตากแห้งเพื่อลดระดับความชื้นในเมล็ดกาแฟ โดยเมล็ดกาแฟที่ผ่านกระบวนการแบบเปียก จะมีรสชาติที่ชัดเจน มีความเป็นกรดที่คล้ายผลไม้
กระบวนการผลิตแบบแห้งหรือ Dry Process เป็นวิธีที่ไม่ได้ผ่านน้ำชะล้างแต่อย่างใด หรือเป็นการนำผลกาแฟเชอร์รี่มาตากให้แห้ง ทำให้ได้กาแฟที่มีรสชาติของผลไม้สุก ผลไม้ตากแห้ง หรือกลิ่นไวน์อ่อน ๆ
เป็นกระบวนการที่อยู่ระหว่างโพรเซสแบบแห้งและแบบเปียก กล่าวคือ เริ่มจากการนำผลกาแฟมาคัดเลือกเพื่อนำไปสีเปลือกออกโดยการแช่น้ำ จากนั้นนำเมล็ดและเนื้อกาแฟมาหมักเข้าด้วยกัน และนำไปตากให้แห้งโดยไม่ขัดเมือกออก จุดเด่นของโพรเซสแบบกึ่งแห้งกึ่งเปียกนั้น คือ มีขั้นตอนที่ค่อนข้างง่าย เมล็ดกาแฟแห้งไวกว่าแบบแห้ง แต่ใช้น้ำน้อยกว่าแบบเปียก รวมไปถึง เมล็ดกาแฟที่ได้จะมีกลิ่นและรสชาติหวานคล้ายน้ำผึ้งหรือผลไม้ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ Honey Process
การคั่วกาแฟเป็นทักษะ ศิลปะ และเป็นหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้การฝึกฝนและประสบการณ์หลายปีจึงจะเชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้รสชาติและกลิ่นหอมตามธรรมชาติของเมล็ดกาแฟ โดยมีระดับการคั่วดังนี้
เป็นวิธีที่จะถนอมรักษากลิ่นและรสชาติ ของเมล็ดกาแฟแบบดั้งเดิมเอาไว้ ทำให้ได้รสชาติที่สว่างกว่าการคั่วที่เข้ม ด้วยเนื้อสัมผัสที่แห้ง ไม่มัน เน้นรสชาติที่ซับซ้อน จึงเหมาะกับคนที่ชอบกาแฟความเข้มน้อย ให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา และสดใส
เป็นการคั่วที่นานขึ้น ทำให้เซลลูโลสในกาแฟโดนทำลายไปบางส่วน โดยทั่วไปเทสติ้งโน๊ตของเมล็ดกาแฟคั่วกลางจะให้ความสมดุลระหว่างรสช็อกโกแลต รสคาราเมล และรสเปรี้ยวของผลไม้ มีผิวสัมผัสที่ค่อนข้างแห้ง จึงเหมาะกับคนที่ชื่นชอบกาแฟที่มีความเข้มปานกลาง หรือนำไปทำกาแฟ เป็นเมนูกาแฟนม เช่น Latte, Cappuccino เป็นต้น
กรรมวิธีการคั่วที่ใช้เวลานาน ประกอบกับการทำให้เซลลูโลสในกาแฟถูกทำลายไปจนหมด เมล็ดกาแฟจะมีน้ำมันระเหยมาเคลือบผิวมากกว่าแบบอื่น มีความเป็นกรดต่ำ ทำให้เมล็ดกาแฟที่ได้มีลักษณะเป็นมันและมีสีน้ำตาลเข้ม ติดกลิ่นเบิร์นไหม้ และมีรสชาติที่เข้มข้นและหนัก ซึ่งการคั่วแบบนี้เป็นที่นิยมและคุ้นเคยสำหรับคนไทย
วิธีในการทำกาแฟอเมริกาโน่มีให้เลือกหลายหลายวิธี แต่ถ้าหากคุณต้องการกาแฟที่มีรสชาติเข้มข้น สะอาด และมีความเป็นธรรมชาติ เราขอแนะนำกาแฟดริปด้วยวิธี Pour Over
- ดริปเปอร์
- กระดาษกรอง
- เหยือกทนความร้อน
- กาต้มน้ำสำหรับดริป
- เครื่องบดเมล็ดกาแฟ
- เครื่องชั่งกาแฟ
- น้ำร้อน 400 มิลลิลิตร
- กาแฟทั้งเมล็ด 60 กรัม
- น้ำแข็ง
อัตราส่วนกาแฟต่อน้ำ 1 : 15 กรัม
ควรเทน้ำให้ทั่ว ๆ กาแฟ จะทำให้เกิดการสกัดได้อย่างสม่ำเสมอ
1. ต้มน้ำให้ได้อุณหภูมิ 90 ถึง 93 องศาเซลเซียส
2. เตรียมกระดาษกรองโดยพับให้พอดีกับกรวยของดริปเปอร์ หลังจากนั้นใส่แผ่นกรองลงในกรวย แล้วเทน้ำใส่กระดาษกรองให้ชุ่ม และนำน้ำไปเททิ้ง
3. ใส่น้ำแข็งลงในเหยือกแล้ววางกรวยไว้ด้านบน
4. บดเมล็ดกาแฟใส่ลงในตัวกรอง โดยบดให้มีความหยาบประมาณน้ำตาลทราย
5. ดริปกาแฟด้วยการเทน้ำร้อนเล็กน้อยลงบนกาแฟ เพื่อทำให้กาแฟเปียกและบานออกเป็นเวลา 1 นาที จากนั้นเทน้ำที่เหลืออย่างช้า ๆ เป็นวงกลม โดยระยะเวลาในการต้มทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 4 นาที
ลองเปลี่ยนจากกาแฟร้อนมาเป็นกาแฟเย็นด้วยการชงจากเครื่องเฟรนช์เพรสที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก
- เครื่องเฟรนช์เพรส
- เครื่องบดเมล็ดกาแฟ
- เครื่องชั่งกาแฟ
- เครื่องจับเวลา
- กาแฟทั้งเมล็ด 30 กรัม
- น้ำเย็น 500 มิลลิลิตร
- น้ำแข็ง
- นมสด 1 ถ้วย
- ไซรัป หรือคาราเมล
อัตราส่วนกาแฟต่อน้ำ 1 : 17 กรัม
พยายามเทน้ำให้แรงและโดนขอบด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้เกิดน้ำวน จะทำให้ผงกาแฟเปียกอย่างทั่วถึง
1. บดเมล็ดกาแฟ โดยบดให้มีความหยาบประมาณน้ำตาลทราย
2. ใส่ผงกาแฟที่บดแล้วลงในเครื่องเฟรนช์เพรส และเติมน้ำที่มีอุณหภูมิ 93 องศาลงไป
3. เมื่อเทเสร็จแล้วให้ใส่ตัวกดครอบไว้ด้านบน
4. ปล่อยกาแฟในเครื่องทิ้งไว้เป็นเวลา 4 นาที
5. กดลูกสูบลง เพื่อแยกกากกาแฟกับน้ำกาแฟออกจากกัน
6. เทลงในถ้วยผสมกับนมด้านล่าง
กาแฟยอดฮิตอย่างเดอร์ตี้ก็สามารถทำด้วยเครื่องแอโรเพรสได้เหมือนกัน โดยวิธีนี้จะมีหลักการทำงานเหมือนการชงด้วยเครื่องเฟรนช์เพรสแต่จะได้รสชาติกาแฟที่เข้มข้นกว่า
- เครื่องแอโรเพรส
- กระดาษกรองทรงกลม
- เครื่องบดเมล็ดกาแฟ
- เครื่องชั่งกาแฟ
- กาแฟทั้งเมล็ด 20 กรัม
- น้ำเย็น 300 มิลลิลิตร
- นมสด 100 มิลลิลิตร
- วิปปิ้งครีม 20 มิลลิลิตร
- ไซรัป
อัตราส่วนกาแฟต่อน้ำ 1 : 15 กรัม
สามารถชงเอสเปรสโซด้วยเครื่องแอโรเพรสล่วงหน้าได้ หลังจากนั้นปล่อยให้อุณหภูมิลดลง เมื่อต้องการทำกาแฟ ให้เจือจางช็อตกาแฟด้วยน้ำร้อน ซึ่งจะทำให้ได้อุณหภูมิของกาแฟที่เหมาะสมสำหรับการดื่ม
1. ผสมนมกับวิปปิ้งครีมแล้วนำไปแช่ช่องแช่แข็งประมาณ 10-15 นาที
2. บดเมล็ดกาแฟ โดยบดให้มีความหยาบประมาณน้ำตาลทราย
3. ใส่ผงกาแฟที่บดแล้วลงในเครื่องแอโรเพรส และเติมน้ำที่มีอุณหภูมิ 93 องศาลงไป
4. นำกระดาษกรองกับฝากรองสีดำประกอบเข้าด้วยกัน แล้วปิดลงบนกระบอกสูบ
5. ปล่อยกาแฟในเครื่องทิ้งไว้เป็นเวลา 1 นาที
6. นำแก้วนมออกจากตู้เย็น แล้วคว่ำประกบลงบนแก้ว
7. ใช้มือดันลูกสูบด้วยความเร็วคงที่ กาแฟจะลงไปผสมในแก้วเรียบร้อย
หลังจากที่ได้เตรียมพร้อมในด้านการชงกาแฟแล้วนั้น เราสามารถเปลี่ยนบ้านให้กลายเป็น ร้านกาแฟได้ง่าย ๆ ด้วยการตกแต่งบ้านในสไตล์ Home Cafe ที่จะทำให้ได้บรรยากาศคาเฟ่มากยิ่งขึ้น โดยไอเดียการตกแต่งบ้านสไตล์ Cafe มีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การตกแต่งในรูปแบบระเบียงนั่งชิวหรือ Balcony Style ที่สามารถเพิ่มพื้นที่กิจกรรมสำหรับทำกาแฟดริป และมีมุมนั่งเล่นกับสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ยังมีอีกสไตล์ที่ทำได้ง่ายไม่แพ้กัน อย่างการแต่งสไตล์ลอฟท์ (Loft Style) ที่มีจุดเด่นในการใช้ผนังปูนเปลือยและเทคนิคแสงสว่างจากโคมไฟ โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับแสงธรรมชาติจากหน้าต่างได้ ช่วยสร้างบรรยากาศที่ให้ความเป็นอิสระ แฝงกลิ่นอายความดิบและเท่ได้อย่างลงตัว นอกจากนี้ ยังช่วยให้ตัวบ้านดูโปร่งโล่งมากขึ้นอีกด้วย
เมื่อได้ไอเดียในการตกแต่งบ้านแล้ว ตัวช่วยอีกอย่างที่หนีไม่พ้นก็คือ ไอเทมยอดฮิต ที่นอกจากจะช่วยเสริมกลิ่นอายความเป็น Home Cafe ให้กับห้องต่าง ๆ ภายในบ้านแล้ว ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายอีกด้วย จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย
สิ่งแรกที่ควรทำเมื่ออยากเปลี่ยนบ้านเป็น Home Cafe นั่นก็คือ การจัดเคาน์เตอร์อาหารเช้า เพราะบาร์อาหารเช้าจะช่วยให้บ้านของคุณกลายเป็นคาเฟ่บรรยากาศสบาย ๆ และที่สำคัญอย่าลืมพร็อพเก๋ ๆ อย่างอุปกรณ์แก้วกาแฟน่ารัก ๆ ที่สามารถใช้งานได้จริงและหาซื้อได้ง่ายอีกด้วย
เป็นการตกแต่งโต๊ะสำหรับมุมนั่งดื่มกาแฟ โดยโทนสีที่นิยมใช้กัน คือ สีเอิร์ธโทน สีขาว หรือสีเทา ที่ให้ความเรียบง่ายสไตล์มินิมอล และสร้างความรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลายภายในตัวบ้าน รวมไปถึง ทำให้ห้องดูสะอาดตา มีความสว่าง และกลมกลืน ในรูปแบบ Home Cafe
อย่าลืมจัดโซฟาหรือเก้าอี้ม้านั่งเข้ามุมเป็นรูปตัว L หรือ U พร้อมกับตกแต่งเพิ่มเติมด้วยหมอนอิงที่มีโทนสีแนวเดียวกันกับโซฟาหรือม้านั่ง ช่วยเพิ่มความสบายตาและน่านั่งมากขึ้น
การใช้โคมไฟเก๋ ๆ ประดับบ้านเพื่อสร้างความสว่าง หรือเพิ่มเทคนิคแสงตกกระทบภายในห้อง โดยควรเลือกให้เหมาะสมสำหรับการใช้งาน เพราะรูปทรงของโคมและโทนสีของไฟ มีผลต่อทิศทางของแสงที่ได้รับ เช่น การใช้โคมไฟตั้งพื้นและโคมไฟระย้าแบบแขวนเพดาน เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศสบาย ๆ แบบ Home Cafe รวมไปถึงเพิ่มความละมุนให้กับพื้นที่ได้อีกด้วย
การวางแจกันไว้มุมโต๊ะทำงาน หรือวางบนตู้ข้างเตียงช่วยเพิ่มอารมณ์ความรู้สึกที่สงบให้แก่ตัวบ้าน โดยแจกันสไตล์มินิมอลสามารถเลือกใช้วัสดุที่ทำจากเซรามิกที่มีความแข็งแรง โทนสีที่เลือกใช้เป็นสีขาว หรือสีฟ้าอ่อน จากนั้นควรประดับด้วยดอกไม้สีสันสดใส และดูโดดเด่น ที่ไม่ควรเกิน 3 สี เพิ่มความสบายตาอีกนิดด้วยสีเขียวจากใบไม้ ก็จะช่วยให้มุมบ้านมีชีวิตชีมามากยิ่งขึ้น
รู้ถึงวิธีการทำกาแฟแบบ Slow bar แล้วนั้น หลาย ๆ คนคงอยากจะลุกขึ้นมาเป็นบาริสต้าและตกแต่งบ้านใหม่ให้กลายเป็น Home Cafe กันเลยทีเดียว ซึ่งสามารถทำได้ไม่ยาก แค่มีไอเทมสำหรับแต่งบ้าน รวมถึงวัตถุดิบและอุปกรณ์สำหรับทำกาแฟ เพียงเท่านี้ก็ช่วยเนรมิตให้บ้านของคุณกลายเป็นคาเฟ่ส่วนตัวได้แล้ว หากใครกำลังมองหาสถานที่ที่ตอบโจทย์ความต้องการ ซึ่งพร้อมไปด้วยของมีคุณภาพดี ราคาดี และมีให้เลือกได้ครบจบในที่เดียว สามารถมาได้ที่ศูนย์การค้าเดอะ สตรีท รัชดา แหล่งรวมวัตถุดิบ อุปกรณ์ในการทำกาแฟให้เลือกซื้ออย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดกาแฟที่สามารถหาซื้อได้ที่ร้าน Starbucks หรืออุปกรณ์ตกแต่งบ้านที่หลากหลายตอบโจทย์ทุกสไตล์ ที่ร้าน Moshi Moshi และร้าน Miniso บริเวณชั้น 1 หรือร้าน MR.DIY ชั้น 2