The Street Share: เปลี่ยนลูกเล็กให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวจิ๋ว กับ 7 กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ที่รับรองว่าสนุกสนาน พร้อมบทเรียนที่เข้าใจง่าย รวม 7 กิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์เด็กประถม สร้างนักทดลองตัวจิ๋ว
ไม่มีกำหนดอายุ

รวม 7 กิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์เด็กประถม สร้างนักทดลองตัวจิ๋ว

การเรียนรู้ตามตำราสำคัญฉันใด การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำก็สำคัญฉันนั้น สำหรับผู้ปกครองที่อยากให้ลูกได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านการทดลองที่สนุกสนาน ต้องไม่พลาดกับ 7 กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กประถม ที่รับรองว่าสนุกสนาน ทำเองได้ที่บ้าน พร้อมได้บทเรียนจากวิทยาศาสตร์สนุกๆ ให้ลูกๆ ได้อย่างแน่นอน จะมีกิจกรรมอะไรบ้าง ไปดูกัน


รวม 7 กิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์เด็กประถม สร้างนักทดลองตัวจิ๋ว


รวม 7 กิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย

การทำกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เป็นแนวทางการสอนที่มุ่งเน้นผลักดันให้เด็กได้ฝึกสังเกตความเปลี่ยนแปลงรอบตัว ฝึกคำนวณ และคาดเดาผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมคิดวิเคราะห์ผ่านผลลัพธ์ที่ได้ นอกจากนี้ การได้ลงมือทำ ยังช่วยส่งเสริมการกล้าคิด กล้าทำของตัวเด็กได้เป็นอย่างดี 

กิจกรรมที่สนุกสนาน และผลลัพธ์ที่ตื่นตาตื่นใจเหล่านี้ ต่างเป็นตัวผลักดันทำให้เด็กอยากเรียนรู้ และจำบทเรียนได้ดีมากขึ้น อีกทั้ง กิจกรรมวิทยาศาสตร์สนุกๆ สำหรับเด็กประถมเหล่านี้ ยังหาเครื่องมือ และอุปกรณ์ได้ง่าย ทำเองได้ที่บ้าน ถือเป็นสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ผ่านกิจกรรมที่ทำได้ทั้งครอบครัวอีกด้วย

มาดูกันว่า 7 กิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กประถม ที่บทความนี้ได้รวบรวมมาให้จะมีอะไรบ้าง ทำได้อย่างไร พร้อมบทเรียนที่ได้จากกิจกรรมเหล่านี้ ให้ผู้ปกครองได้เลือก เพื่อการเรียนรู้ที่ดี และร่วมสนุกสนานไปกับลูกๆ ด้วย

1. กิจกรรมรุ้งในขวด

รุ้งในขวด

กิจกรรมรุ้งในขวด คือกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวกับความหนาแน่นของของเหลว ที่มีความแตกต่างกัน ผ่านน้ำที่ผสมกับน้ำตาลในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป แล้วแยกความหนาแน่นของน้ำเหล่านั้นด้วยสีสันสดใส เพื่อสร้างชั้นของน้ำที่แยกกันอย่างชัดเจน คล้ายกับสีของสายรุ้งที่ถูกเก็บเอาไว้ในขวดทดลองเล็กๆ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • น้ำ

  • สีผสมอาหารหลายๆ สี ตามความชอบ

  • น้ำตาล

  • ภาชนะสำหรับผสมน้ำ น้ำตาล และสีแต่ละสี

  • ช้อน

  • กระบอกฉีดยาสำหรับเทน้ำลงขวด

  • ขวดแก้วทดลองทรงสูง ไม่ต้องกว้างมาก

วิธีการทดลอง

  1. ผสมน้ำ กับสีผสมอาหาร ในภาชนะสำหรับผสม

  2. ผสมน้ำตาลลงไปในน้ำที่ผสมกับสีผสมอาหารแล้ว โดยใส่น้ำตาลในปริมาณที่แตกต่างออกไป เช่น

  • สีม่วง ใส่น้ำตาล 1 ช้อน

  • สีแดง ใส่น้ำตาล 2 ช้อน

  • สีเขียว ใส่น้ำตาล 3 ช้อน

  • สีเหลือง ใส่น้ำตาล 4 ช้อน

  1. คนให้น้ำตาลละลายให้หมด

  2. เทน้ำลงไปในแก้ว โดยเรียงลำดับจากปริมาณน้ำตาลมากไปน้อย (เททีละช้าๆ)

  3. ทำซ้ำจนครบทุกสี

บทเรียนจากกิจกรรมนี้

บทเรียนที่ได้จากกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนี้ คือของเหลวแต่ละชนิดมีความหนาแน่นที่แตกต่างกัน โดยความหนาแน่นสามารถเพิ่มได้จากการเพิ่มสารละลาย (น้ำตาล) ลงไปในของเหลว และเมื่อของเหลวที่มีความหนาแน่นแตกต่างกันอยู่รวมกัน ของเหลวเหล่านั้นจะไม่ผสมกันง่ายๆ นั่นเอง

2. กิจกรรมไข่นุ่ม เด้งดึ๋ง

กิจกรรมไข่นุ่ม เด้งดึ๋ง คือกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนไข่ไก่ดิบ ที่มีลักษณะแข็ง ให้กลายเป็นไข่ไก่ที่นุ่ม และยืดหยุ่นได้จากการแช่ไว้ในน้ำส้มสายชู โดยไข่ไก่ที่ได้ จะมีลักษณะนุ่มมือ บีบได้เบาๆโดยไม่แตก ยิ่งส่องไฟผ่าน ก็จะยิ่งมองเห็นไข่แดงได้อย่างชัดเจน และเป็นไข่ไก่ดิบที่ยังคงรูปไข่ แม้ไม่มีเปลือกหุ่มแล้ว แต่ยังมีเยื่อหุ้มไข่อยู่ เรียกได้ว่าแปลกตาสำหรับเด็กๆ เป็นอย่างมาก

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • ไข่ไก่ดิบ

  • น้ำส้มสายชู

  • น้ำเปล่า

  • แก้วทรงสูง

  • ช้อน

วิธีการทดลอง

  1. นำไข่ไก่ใส่ลงไปในแก้วที่เตรียมไว้

  2. เทน้ำส้มสายชูรดไข่จนท่วม

  3. ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน

  4. ใช้ช้อนตักไข่ไก่ออกมาอย่างระมัดระวัง

  5. ล้างไข่ไก่ด้วยน้ำเปล่าอย่างเบามือ

  6. จากนั้นก็สามารถนำไปเล่น หรือนำไปส่องไฟได้เลย แต่ต้องระวังแตกด้วย

บทเรียนจากกิจกรรมนี้

บทเรียนที่ได้จากกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนี้ คือกรดในน้ำส้มสายชู เมื่อทำปฏิกิริยากับเปลือกไข่แล้ว จะกัดจนเปลือกไข่บางลง และค่อยๆ สลายไปในที่สุด นอกจากนี้ เมื่อไข่ไก่บางลง จะทำให้สามารถส่องไฟดูด้านในได้ เด็กๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบต่างๆ ของไข่ไก่ดิบ ไม่ว่าจะเป็นเยื่อหุ้มไข่ ไข่ขาว หรือไข่แดงนั่นเอง

3. กิจกรรมเทียนไขดูดน้ำ

กิจกรรมเทียนไขดูดน้ำ คือกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเผาไหม้ และแรงดันอากาศ ผ่านการเคลื่อนที่ของน้ำที่ผสมสี ที่เข้าไปในแก้วได้อย่างรวดเร็ว การเคลื่อนไหวของน้ำเหล่านี้เอง จะสร้างความตื่นเต้นให้กับเด็กๆ ที่ทำการทดลองเป็นอย่างมาก

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • เทียนไขขนาดพอเหมาะ

  • แก้วสีใส

  • จาน

  • น้ำ

  • สีผสมอาหาร

  • ไฟแช็ก

วิธีการทดลอง

  1. นำเทียนไขมาวางไว้ตรงกลางจานที่เตรียมไว้

  2. เทน้ำผสมสีผสมอาหารใส่ในจาน รอบๆ ตัวเทียน

  3. จุดไฟที่เทียน ในขั้นตอนนี้ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด

  4. ครอบแก้วลงบนเทียนที่กำลังติดไฟอย่างระมัดระวัง

  5. สังเกตเทียนที่ค่อยๆ เปลี่ยนสีได้เลย

บทเรียนจากกิจกรรมนี้

บทเรียนที่ได้จากกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนี้ คือออกซิเจนที่เกิดจากการเผาไหม้ของเทียน ที่เข้ามาเพิ่มแรงดันอากาศภายในแก้วให้มากขึ้น ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของน้ำอย่างรวดเร็ว เมื่อน้ำที่ผสมสีเข้าไปในแก้วที่มีเทียนอยู่ ก็จะทำให้เทียนเปลี่ยนสีได้นั่นเอง

4. กิจกรรมภูเขาไฟลาวา

ภูเขาไฟลาวา

กิจกรรมภูเขาไฟลาวา คือกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการจำลองภูเขาไฟระเบิด ที่ปลอดภัย และสนุกสนาน ผ่านปฏิกิริยาระหว่างผงฟู และน้ำส้มสายชู สร้างฟองฟู่ออกมาคล้ายลาวา ที่ออกมาจากปล่องภูเขาไฟ นอกจากนี้ สีแดงของลาวากับฟองที่ออกมานั้น ก็คล้ายกับของจริงมากด้วย จึงสร้างความตื่นตาตื่นใจให้เด็กๆ ได้เป็นอย่างดี

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • ดินน้ำมัน

  • จานหรือถาดรอง

  • แก้วขนาดเล็ก

  • ผงฟู

  • น้ำส้มสายชู

  • สีผสมอาหารสีแดง

  • ช้อนตวง

วิธีการทดลอง

  1. วางแก้วขนาดเล็กไว้บนจานทดลอง จากนั้นปั้นดินน้ำมัน หรือดินเหนียวไว้รอบๆ โดยเว้นปากแก้วไว้ให้เหมือนกับปล่องภูเขาไฟ

  2. ใส่ผงฟูลงไปในแก้วประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ 

  3. ผสมน้ำส้มสายชูกับสีผสมอาหารสีแดงไว้ในภาชนะอีกอัน

  4. เทน้ำส้มสายชูลงไปผสมกับผงฟู 

  5. เมื่อทั้งสองส่วนผสมกัน จะเกิดเป็นฟองขึ้นมาจากปากปล่องภูเขาไฟคล้ายกับลาวา

บทเรียนจากกิจกรรมนี้

บทเรียนที่ได้จากกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนี้ คือการเรียนรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาทางเคมีของผงฟู และน้ำส้มสายชู จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมา ซึ่งก็คือแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์นั่นเอง และแก๊สยังผลักดันของเหลวให้ไหลออกมาราวกับลาวา นอกจากปฏิกิริยาทางเคมีแล้ว บทเรียนนี้ยังสอนเกี่ยวกับพื้นฐานการทำงานของปล่องภูเขาไฟ และการระเบิดของภูเขาไฟ ผ่านภาพจำลองสุดตระการตาได้อีกด้วย

5. กิจกรรมเป่าลูกโป่งไม่ใช้ลม

กิจกรรมเป่าลูกโป่งไม่ใช้ลม

กิจกรรมเป่าลูกโป่งไม่ใช้ลม คือกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีระหว่างเบกกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชู ที่สามารถทำให้ลูกโป่งพองตัวขึ้นได้โดยที่เราไม่ต้องลงมือเป่าลมด้วยตัวเอง นอกจากการทำให้ลูกโป่งพองตัวแล้ว ยังมีเสียงฟู่ พร้อมกับฟองฟู่ออกมาขณะเกิดปฏิกิริยาอีกด้วย ยิ่งใส่สารเยอะมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีเสียงนานมากขึ้น และทำให้ลูกโป่งใหญ่ขึ้นด้วย

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • ลูกโป่ง

  • ขวดพลาสติกขนาดเล็ก

  • เบกกิ้งโซดา 

  • น้ำส้มสายชู

  • ช้อนตวง

วิธีการทดลอง

  1. เทน้ำส้มสายชูลงไปในขวดให้ได้ปริมาณ 1/4 ของขวด

  2. เติมเบกกิ้งโซดา ลงไปในปากลูกโป่ง ประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ

  3. สวมปากลูกโป่งเข้ากับปากขวดช้าๆ ระวังไม่ให้เบกกิ้งโซดาหล่นลงไปผสมกับน้ำส้มสายชู

  4. หากสวมลูกโป่งได้แน่นแล้ว ให้ยกก้นลูกโป่งขึ้น ปล่อยให้เบกกิ้งโซดาลงไปผสมกับน้ำส้มสายชู

  5. เมื่อเบกกิ้งโซดาลงไปผสมกับน้ำส้มสายชูแล้วจะเกิดลมพร้อมกับเสียงฟู่ขึ้นมา ทำให้ลูกโป่งค่อยๆ ขยายขึ้น

บทเรียนจากกิจกรรมนี้

บทเรียนที่ได้จากกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนี้ คือรู้ว่าแก๊สที่ได้จากการผสมกันของน้ำส้มสายชู และเบกกิ้งโซดา ในปริมาณที่มากเพียงพอ สามารถเป่าลูกโป่งให้ขยายตัวขึ้นมาได้ นอกจากนี้ หากไม่บอกปริมาณของส่วนผสมกับเด็กก่อน จะส่งเสริมให้เกิดการลองผิดลองถูก เรียนรู้ที่จะปรับปรุงปริมาณ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการได้อีกด้วย

6. กิจกรรมระบำพริกไทย

ระบำพริกไทย

กิจกรรมระบำพริกไทย คือกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับแรงตึงผิวของน้ำ ควบคู่กับการทำงานของสบู่ ผ่านการใช้พริกไทยป่นโรยลงไปในน้ำ และไม้จิ้มฟันเคลือบสบู่ที่จุ่มลงไป จะสังเกตเห็นได้ว่า พริกไทยจะเคลื่อนที่ไปยังขอบจานอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ เรียกได้ว่าเป็นการทดลองที่ซับซ้อน แต่ก็เข้าใจ และทำได้ง่ายในเวลาเดียวกัน

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • จาน

  • น้ำ

  • สบู่

  • พริกไทย

  • ไม้จิ้มฟัน

วิธีการทดลอง

  1. เทน้ำลงไปในจานให้ได้ความลึกประมาณ 1 เซนติเมตร

  2. โรยพริกไทยลงไปให้ทั่วผิวน้ำ

  3. นำไม้จิ้มฟันลงไปเคลือบกับสบู่ จากนั้นจุ่มลงไปกลางน้ำที่มีพริกไทยลอยอยู่ด้านบน

  4. สังเกตการเคลื่อนไหวของพริกไทยบนน้ำ

บทเรียนจากกิจกรรมนี้

บทเรียนที่ได้จากกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนี้ คือแรงตึงผิวของน้ำ ที่ทำให้พริกไทยลอยอยู่ได้โดยไม่จม หรือไม่ผสมกับน้ำ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิกิริยาของสบู่ ที่สามารถช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำได้ และเมื่อแรงตึงผิวของน้ำลดลงจะผลักสบู่ออกไป นอกจากนี้ เมื่อสบู่แพร่กระจายตัวในน้ำ ก็จะยิ่งผลักพริกไทยออกไปเรื่อยๆ จนถึงขอบจานนั่นเอง

7. กิจกรรมดอกไม้เปลี่ยนสี

กิจกรรมดอกไม้เปลี่ยนสี

กิจกรรมดอกไม้เปลี่ยนสี คือกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการลำเลียงอาหารของพืช ผ่านการเปลี่ยนสีของดอกไม้ จากสีขาวให้เป็นสีต่างๆ ตามต้องการ โดยดอกไม้จะค่อยๆ เปลี่ยนสีตามสีของน้ำ และเห็นผลได้ชัดเจนภายในไม่กี่ชั่วโมง บางครั้งอาจจะเห็นสีที่เปลี่ยนไปทั้งดอก แต่บางครั้งอาจจะเปลี่ยนสีเฉพาะส่วนของท่อลำเลียงน้ำเป็นเส้นๆ เท่านั้น สร้างความน่าอัศจรรย์ใจให้เด็กๆ ไปได้อีกแบบ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • ดอกกุหลาบขาว หรือดอกไม้อะไรก็ได้ที่มีสีขาว

  • แก้วสีใส

  • น้ำ

  • สีผสมอาหารหลายๆ สี

  • มีด

วิธีการทดลอง

  1. เติมน้ำลงไปในแก้วให้ได้ปริมาณครึ่งแก้ว

  2. หยดสีผสมอาหารที่ชอบลงไป จากนั้นคนให้เข้ากัน ให้น้ำเปลี่ยนสีอย่างเห็นได้ชัด

  3. นำก้านดอกไม้จุ่มลงไปในน้ำ จากนั้นตัดก้านดอกไม้ออกเล็กน้อย (ต้องตัดใต้น้ำเท่านั้น)

  4. นำแก้วน้ำที่ใส่ดอกไม้ไปวางไว้ในบริเวณที่โดนแสงแดด

  5. สังเกตการเปลี่ยนแปลงทุก 1 ชั่วโมง และจะเห็นได้ชัดเมื่อผ่านไป 24 ชั่วโมง

บทเรียนจากกิจกรรมนี้

บทเรียนที่ได้จากกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนี้ คือการลำเลียงน้ำของดอกไม้ที่นำมาทดลอง เรียนรู้ได้ว่าพืชสามารถดูดน้ำ และสารอาหารผ่านราก และลำต้น โดยลองให้เด็กๆ เปลี่ยนชนิดของดอกไม้ไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของผลการทดลองที่แตกต่างกัน ทั้งระยะเวลาเปลี่ยนสีของดอกไม้ รวมถึงลักษณะการเปลี่ยนสีของดอกไม้ด้วย

NSM Science Square แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ใจกลางรัชดา

NSM Science Square แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ใจกลางรัชดา

จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. หรือ NSM Science Square ที่ The Street Ratchada ชั้น 5 เป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เหมาะสำหรับการพาลูกๆ ไปทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง เพราะที่นี่มีกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเกมกล ชิ้นงานต่างๆ ที่แสง สี เสียง จัดเต็ม ตื่นตาตื่นใจ ไปพร้อมกับการเรียนรู้ใหม่ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

สรุป

การทำกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นแนวทางการเรียนรู้อีกหนึ่งรูปแบบ ที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างมากสำหรับเด็กๆ ในวัยที่มีความอยากรู้ อยากลองทำอะไรใหม่ๆ ได้ทำการทดลองแปลกใหม่ พร้อมผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน กิจกรรมเหล่านี้ นอกจากจะมอบความสนุกสนานให้กับเด็กๆ ได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังฝึกให้เด็กๆ เป็นคนช่างสังเกต กล้าคิด กล้าลงมือทำ รวมถึงกล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ อีกด้วย หากเลือกกิจกรรมที่คิดว่าเหมาะกับลูกๆ ได้แล้ว ก็เริ่มลงมือทดลองได้เลย!

Related